วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
แบบฝึกหัดบทที่ 2
แบบฝึกหัดบทที่ 2
1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
ตอบ - Hardware หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ
- Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงานมีหน่วยความจำสูง และมีอุปกรณ์ประกอบมากมาย แต่ฮาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปรแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Software) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฏิบัติการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก
2.โปรแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกันมีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ โปรแกรมSAS,ABSTAT, SPSS, Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเร็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้
- People ware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตาม แผนผังที่นักวิเคราะห์ ระบบได้เขียนไว้
ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม ที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็น ตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการ กำหนดของมนุษย์ (people ware) ทั้งสิ้น
- Data หมายถึง ข้อมูลข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
- Information หมายถึง สารสนเทศ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน รูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ข้อมูล มีหลายรูปแบบ เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลทางตา ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น
2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น
2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ people ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ ธุรกิจที่เลือกคือ ธุรกิจโรงแรม เพราะว่า ในส่วนของโรงแรมต้องใช้ข้อมูลในการจองที่พัก การเช็คอินลูกค้า การเช็คเอ้าลูกค้า การลงทะเบียนของลูกค้า การเก็บมูลทุกอย่างของลูกค้าและส่วนของโรงแรมทุกอย่างเพื่อประหยัดเวลา ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการทำงานในระบบของโรงแรม ดังนั้นอุปกรณ์ Hardware Software และ People ware จึงจำเป็นต่องานด้านบริการในส่วนของโรงแรมเป็นอย่างมาก
3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้
พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ
ที่ได้จัดระเบียบ แล้วมาประยุกต์ใช้ด้านใดด้านหนึ่ง
เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น
การนำเอาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เข้ามาใช้ในองค์กร ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานเดินเอกสารเพื่อส่งข่าวสาร
เป็นต้น
สารสนเทศ
หมายถึง
ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง
เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น
สารสนเทศที่เป็นความรู้ที่เกิดจากข่าวสารรอบตัวซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ยกตัวอย่างเช่น การฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ
ยกตัวอย่างเช่น การ Print การ Copy ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีหลายชุด โดยใช้อุปกรณ์ เช่น
เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นCD ฮาร์ดดิส เป็นต้น
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฎการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ
ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบ ชื่อนักศึกษา เพศ อายุ
เป็นต้น
ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่จัดเป็นโครงสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์
ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้
ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่ยุค"เศรษฐกิจฐานความรู้"
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่า
การพัฒนาความรู้ใหม่ๆเพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ
2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย
1.ระดับล่างสุด
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า
ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ
เช่น การทำบัญชี การจองตั๋ว เป็นต้น
2.ระดับที่สอง
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ
เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่น
สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้า
ที่ได้จากกระบวนการผลิต
3.ระดับที่สาม
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น
ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น
สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาค เป็นต้น
4.ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง
สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาด ความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกอบด้วย
1.ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น
เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น
การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม
ดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดขาย
รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น
3.ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ
เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ
และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
โปรแกรม Microsoft Word
ความหมายและความสำคัญ
โปรแกรมเวิร์ดเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารที่ได้รับความนิยมอย่างมากได้แก่ Microsoft Word, Word Star และโปรแกรม Pladao Writer เป็นต้น
โปรแกรมเวิร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นหนึ่งในชุดโปรแกรม Microsoft Office เพราะคุณสมบัติที่ใช้งานง่าย และครอบคลุมการใช้งานหลากหลาย โปรแกรม Microsoft
Word ปัจจุบันนี้มาการผลิตออกเป็นรุ่นต่างๆ คือ Word 95 , 97
, 2000 และ XP ตามลำดับ
ประโยชน์ของโปรแกรม
Microsoft
Word
MicrosoftWord เป็นโปรแกรมที่จัดอยู่ในประเภทของการพิมพ์เอกสาร
ซึ่งเรียกว่า “เวิร์ดโปรเซสเซอร์” (Word
Processor) ลักษณะของการใช้งานจะเหมาะสมกับการใช้พิมพ์เอกสาร จดหมาย
หรือตำรา
โดยโปรแกรมจะมีคำสั่งและเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ในการสร้างและตบแต่งเอกสารให้ดูสวยงามโดยเฉพาะในรุ่นใหม่ ๆ
ยังสามารถสร้างเอกสารประเภทเว็บเพจที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
Microsoft Word หรือเรียกสั้นๆ ว่า Word โปรแกรมสำหรับงานประมวลผลคำ
ระบบภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ ที่ทำงานบนวินโดวส์ ผลิตภัณฑ์บริษัทไมโครซอฟต์โดยมีความสามารถต่างๆ ด้านการพิมพ์และประมวลผลคำ ในระบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
และความสามารถอื่นๆ ซึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น
ขั้นตอนการใช้งาน Word
1.คลิกที่ Start > Programs > Microsoft
Office > Microsoft Word 2010 ดังภาพ
2.จะเปิดหน้าต่างโปรแกรม
Microsoft Word 2010 ดังภาพ
การสร้างเอกสารใหม่
การเริ่มต้นสร้างงานเอกสาร
เราต้องเปิดหรือสร้างเอกสารใหม่ได้ขึ้นมาก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ไปที่แฟ้ม > คลิกสร้าง ดังภาพ
2. เปิดหน้าต่าง เลือกแม่แบบที่มีอยู่ >
เอกสารเปล่า > คลิกสร้าง จะได้เอกสารเปล่าเพื่อพร้อมที่จะพิมพ์งาน
การเปิดเอดสารเก่า
เมื่อเรามีเอกสารเก่า
หรือไฟล์งานเดิมที่บันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว ต้องการที่จะเปิดขึ้นมาใช้งาน หรือทำงานต่อ
มีวิธีการดังนี้
1.เปิดโปรแกรม Microsoft Word 2010 โดย คลิกที่ Start > Programs > Microsoft Office > Microsoft Word 2010
2. เมื่อโปรแกรม
word เปิดขึ้น คลิกที่แฟ้ม > เปิด ดังภาพ
3.โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง
เปิด ให้เลือกว่าไฟล์ word อยู่ที่ไหน มองหาใน
จะตั้งค่าที่ MY Document เสมอเราต้องรู้ว่าไฟล์
word ของเราชื่ออะไร เก็บไว้ในไดร์ฟไหน โฟลเดอร์ไหน เลือกที่อยู่ให้ถูกและเลือกไฟล์
แล้วคลิกเปิด
4.อีกวิธีการหนึ่ง
คือ เปิดโปรแกรม word คลิกที่แฟ้ม > จะมองเห็นเอกสารล่าสุด ถ้ามีชื่อเอกสารที่เราจะใช้งาน ก็คลิกเปิดได้เลย
ดังภาพ
การบันทึกข้อมูล
ในการทำงานโปรแกรม
word เราควรจะคลิกปุ่มบันทึกบนแท็บ
ไว้เรื่อย ๆ เพื่อป้องกันงานสูญหาย เนื่องจาก
ไฟดับ ปลั๊กหลุด หรือเครื่องแฮงค์
เป็นต้น
การบันทึกงานครั้งแรก
ให้ทำงานขั้นตอนดังนี้
1.
คลิกที่ไอคอนบันทึกหมายเลข1 โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง บันทึกเป็น
2.
ในช่องบันทึกใน ให้คลิ๊กที่สามเหลี่ยมเล็ก
ๆ ลงมาเพื่อเลือกบันทึกงานว่าเก็บไว้ที่ใด ไดร์ฟไหน โฟลเดอร์ใด
3.
ในช่องชื่อแฟ้ม ให้ตั้งชื่อไฟล์
4.
แล้วคลิกบันทึก
2.โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง เปิด
ให้เลือกบันทึกใน ไดร์ฟหรือโฟลเดอร์ไหน และตั้งชื่อไฟล์ก่อนคลิกบันทึก
เหมือนวิธีเดียวกับคลิกบันทึกจากปุ่มบันทึก
3.การบันทึกอีกรูปแบบหนึ่ง
คือ บันทึกเป็น ใช้ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนที่เก็บ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์
การออกจากโปรแกรม
เมื่อพิมพ์เอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เราบันทึกงานเก็บตามขั้นตอนและต้องการจะออกจากโปรแกรม
มีหลายวิธีการดังนี้
วิธีที่1 ไปที่แท็บแฟ้ม
เลือกจบการทำงาน โปรแกรมจะปิดตัวเอง ออกจากโปรแกรม Microsoft
Word ดังภาพ
วิธีที่ 2 คลิกที่เครื่องหมายกากบาทสีแดง ที่มุมบนขวามือของหน้ากระดาษ โปรแกรมจะปิดตัวเอง
ออกจากโปรแกรม Microsoft Word ดังภาพ
โปรแกรม Format Factory
โปรแกรม Format
Factory
คุณสมบัติโปรแกรม Format
Factory สามารถแปลงไฟล์เป็นนามสกุลต่างๆได้ดังนี้
Video >> All to
MP4/3GP/AVI/WMV/FLV/MPG/VOB/SWF/MOV
Audio >> All to
MP3//WMA/AAC/MMF/AMR/M4A/OGG/MP2/WAV
Picture >> All to JPG/PNG/ICO/BMP/GIF/TIF/PCX/TGA
All to Mobile Divice, PSP, IPhone
DVD, CD, ISO
Source files support RMVB.
ประโยชน์ของโปรแกรม Format
Factory
1.รองรับการแปลงไฟล์ วีดีโอ
รูปภาพ เพลง อื่นๆอีกมากมาย
2. ซ่อมแซมไฟล์วิดีโอไฟล์เสียงที่ชำรุด
3. ลดขนาดรูปแบบเสียงได้
4. รองรับ iPhone, iPod รูปแบบ multimedia file formats
5. แปลงรูปภาพสามารถ ซูม หมุน
ภาพได้
6. DVD Ripper
7. รองรับ 30 ภาษา
8. ข้อสำคัญ คือ ฟรีแวร์ 100%
รูปที่ 1
แสดงขั้นตอนในการเปิดโปรแกรม เลือกเมนูทั้งหมดไปยัง mp3
1. เพื่อทำการแปลงไฟล์วีดีเป็นไฟล์เสียง
mp3 ให้เปิดโปรแกรม Format factory ดังรูปที่
1 คลิ๊กทั้งหมดไปยัง mp3
รูปที่ 2 คลิ๊กเพิ่่มแฟ้มเพื่อเลือกไฟล์
video ที่ต้องการแปลงเป็น Mp3
2. ที่หน้าต่าง เมนุทั้งหมดไปยัง MP3 ให้คลิ๊กเลือก เพิ่มแฟ้มเพื่อเลือกไฟล์วีดีโอที่เราต้องการแปลงลงไปเราสามารถเลือกไฟล์วีดีโอได้มากมายทั้งยังสามารถเลือกเป็นโฟลเดอร์ก็เป็นได้
รูปที่ 3 แสดงสถานะของแฟ้มวีดีโอที่เพิ่มไว้สำหรับการแปลง
3.เมื่อเราคลิ๊กเพิ่มแฟ้มเรียบร้อย จะปรากฏชื่อแฟ้มวีดีโอที่เราต้องการแปลงในหน้าต่างกึ่งกลางโปรแกรมดังรูปที่3
รูปที่ 4 แสดงการเลือกแหล่งเก็บไฟล์ MP3 ที่เป็น output
4.ก่อนเริ่มแปลงไฟล์ต้องมาตั้งค่า โฟลเดอร์ปลายทางของ
Output
หรือ โฟลเดอร์ปลายทางของไฟล์ MP3 ที่เราจะเลือกเก็บ แต่หากใครชอบใจโฟลเดอร์เริ่มต้นที่โปรแกรมเลือกไว้แล้ว
สามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลยแต่ถ้าหากใครอยากเลือกโฟลเดอร์ปลายทางใหม่คลิ๊กเรียกดูเพื่อปรับเปลี่ยนโฟลเดอร์ปลายทางได้เลย
รูปที่ 5
แสดงขั้นตอนการเพิ่มไฟล์และเลือกแหล่งจัดเก็บ
5.หลังการเพิ่มแฟ้ม Video
สำหรับแปลงเป็น MP3 แล้ว และ เลือกแหล่งเก็บไฟล์ข้อมูลดังกล่าวเสร็จสิ้นให้คลิีก
ตกลงเพื่อกลับไปยังหน้าต่างการแปลงไฟล์
6. เริ่มทำการแปลงไฟล์ วีดีโอ เป็น MP3 ด้วยโปรแกรม Format factory ด้วยการคลิ๊กเริ่ม ดังรูปที่
6
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)